วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552







วันนี้ในอดีต...มารู้กันว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง...

24 ธันวาคม พ.ศ. 2361 : วันเกิด เจมส์ จูล นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ


24 ธันวาคม พ.ศ. 2361 วันเกิด เจมส์ จูล (James Joule) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกลและพลังงานความร้อน และเขายังค้นพบความสัมพันธ์ของความต้านทานไฟฟ้าและความร้อนที่ปล่อยออกมา ต่อมาเรียกว่ากฎของจูล เขาได้รับการยกย่องโดยใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อน โดย 1 จูล = 4.2 แคลอรี่ เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2432 ขณะอายุ 71 ปี



24 ธันวาคม พ.ศ. 2449:รายการวิทยุรายการแรกออกอากาศ โดยศาสตราจารย์ เรจิเนลด์ เฟสเซสเดนท์







24 ธันวาคม พ.ศ. 2449 วันนี้รายการวิทยุรายการแรกออกอากาศ โดยศาสตราจารย์ เรจิเนลด์ เฟสเซสเดนท์ จากรัฐแมสซาชูเสจ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกอากาศเกี่ยวกับบทกวี การสีไวโอลิน และสุนทรพจน์ ใช้คลื่น 429 แรงขับเคลื่อนจากพลังไอน้ำ ใช้สายอากาศสูง 429 ฟุต และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ





24 ธันวาคม พ.ศ. 2522:Ariane1จรวดลำแรกของกลุ่มประเทศยุโรป ทะยานขึ้นสู่อวกาศเป็นผลสำเร็จ




แมวตาเพชร เกิดจากอะไร



มนุษย์มีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือชอบสะสมของแปลกๆหรือสิ่งแปลกๆ ไว้ใกล้ตัว เพราะเชื่อว่าจะนำสิริมงคลมาให้ สะสมไปถึงขั้นเลี้ยงสัตว์ที่แปลก อย่างแมวตาเพชรหรือเพชรตาแมว
ได้ยินข่าวเป็นระยะๆ ว่ามีคนได้เพชรตาแมวมาจากแมวตัวนั้นตัวนี้ และยังบอกสำทับมาด้วยว่าจะทำให้เกิดโชคลาภต่างๆ นานา ยอมเสียสตางค์ซื้อแมวหลายแสนบาท หรือ เป็นล้านบาทก็ยังมี
ผลสุดท้ายต้องมานั่งซอกซ้ำใจ เพราะเมื่อแมวตัวนั้นตายไปแล้วปรากฏว่าสิ่งที่เคยคิดว่าเป็นเพชรในตาแมวเหล่านั้นก็สูญสลายหายไปหมด กลายเป็นส่วนหนึ่งของซากแมว เพราะความแวววาวเหมือนอัญมณีนั้นก็คือเลนส์ตาซึ่งเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของแมวเท่านั้นเอง
สิ่งที่เราเรียกว่าเพชรตาแมวนั้น แท้ที่จริงคือแมวที่มีความผิดปกติ คือเป็นโรคตาที่เรียกว่าต้อ เหมือนกรณีของคน อาการที่แสดงคือตาบวมโตขึ้น ตัวเลนส์จะมีสีขุ่นมัวและมีประกายออกมาเสียด้วย มองผาดๆ แล้วก็นึกว่าเป็นตาเพชร ความจริงคือแมวป่วยทางตาเท่านั้นเอง ไม่ใช่อาถรรพ์ของเพชรตาแมวที่ไหนเลย






ที่มา วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)
http://knowledgesharing.thaiportal.net/บทความ/tabid/93/articleType/ArticleView/articleId/167/.aspx

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


เทศน์มหาชาติ


เทศน์มหาชาติ คือการร่ายยาว หรือการเล่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ว่าด้วยพระบุพจริยาของพระพุทธองค์ในอดีตชาติ เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญพระบารมีเป็นพระชาติสุดท้าย ก่อนจะตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ


เวสสันดรชาดก เป็นหนึ่งในสิบของทศชาติชาดก หรือที่เรียกกันว่าพระเจ้าสิบชาติ ซึ่งเป็นชาดกที่กล่าวถึงการบำเพ็ญ พระบารมีที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ถึง ๑๐ พระชาติด้วยกันคือ เตมียชาดก ทรงบำเพ็ญ เนกขัมมบารมี, มหาชนกชาดก ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี, สุวรรณสามชาดก ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี, เนมีราชชาดก ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี, มโหสถชาดก ทรงบำเพ็ญ ปัญญาบารมี, ภูริทัตชาดก ทรงบำเพ็ญ ศีลบารมี, จันทกุมารชาดก ทรงบำเพ็ญ ขันติบารมี, นารทชาดก ทรงบำเพ็ญ อุเบกขาบารมี, วิฑูรชาดก ทรงบำเพ็ญ สัจจบารมี, เวสันดรชาดก ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี


การเทศน์มหาชาติ จัดเป็นโบราณประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งบรรพบุรุษไทยยึดถือสืบทอดและปฏิบัติสืบต่อกันมา ในปัจจุบันวัด ต่าง ๆ จัดให้มีการเทศน์มหาชาติขึ้น ในเทศกาลช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน สำหรับการเทศน์มหาชาติเป็นการร่วมกันจรรโลงมรดกทางวัฒนธรรมที่สูงค่า ให้อยู่คู่กับพระพุทธศาสนา โดยน้อมรำลึกถึงเรื่องราว ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ชาติที่เป็นพระเวสสันดร พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมียิ่งใหญ่คือการบริจาคทรัพย์สมบัติ พระโอรส พระธิดา และพระมหาเหสี ซึ่งการกระทำดังกล่าวเรียกว่า “มหาทาน” ยากที่ปุถุชนทั่วไปจะทำได้


เทศมหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ได้แก่


1. กัณฑ์ทศพร พระนางผุสดีขอพระอินทร์ 10 ประการ

2. กัณฑ์หิมพานต์ พระเวสสันดรบริจาคช้างปัจจัยนาเคนทร์

3. กัณฑ์ทานกัณฑ์ พระเวสสันดรบริจาคสัตตสดกมหาทาน

4. กัณฑ์วนปเวศน์ พระเวสสันดรและครอบครัวเดินชมป่า

5. กัณฑ์ชูชก นางอมิตตดาบอกชูชกให้ไปทูลขอกัณหาและชาลี

6. กัณฑ์จุลพน ชูชกหลอกพรานเจตบุตร

7. กัณฑ์มหาพน ชูชกหลอกพระอัจจุฤาษี

8. กัณฑ์กุมาร ชูชกขอกัณหาและชาลีต่อพระเวสสันดร

9. กัณฑ์มัทรี พระอินทร์ถ่วงเวลาพระนางมัทรีไม่ให้ไปทันเวลา

10. กัณฑ์สักกบรรพ พระเวสสันดรบริจาคพระนางมัทรี

11. กัณฑ์มหาราช ชูชกนอนอย่างสบายใจเพราะคิดว่ามีทาสรับใช้แล้ว

12. กัณฑ์ฉกษัตริย์ กษัตริย์ 6 พระองค์พบกันดีใจและร้องไห้จนสลบพระอินทร์บันดาลฝนโบกขรพรรษให้ตก

13. กัณฑ์นครกัณฑ์ พระเวสสันดรและครอบครัวเสด็จกลับนคร

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552



















เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน
เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน เป็นชื่อเรียกเทศกาลรวมๆ ในการจัดชมดอกทานตะวันในบริเวณ

ภาคกลางของประเทศไทย จะจัดขึ้นโดยจะมีในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมพาพัน ของทุกปี โดย
มีพื้นที่ปลูกใน อำเภอพัฒนานิคม บางส่วนของอำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งบริเวณโดยรอบเขื่อนป่า
สักชลสิทธิ์ และรวมถึงพื้นที่ติดต่อกันในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย

การเยี่ยมชมทุ่งทานตะวันบาน สามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง โดยทางถนนให้เดินทางมา
ตามถนนพหลโยธิน ก่อนเข้าเมืองลพบุรี 5 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวา เข้าเส้นทางไป อำเภอพัฒนา
นิคม (ตามทางหลวงหมายเลย 3017) มุ่งหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หรือเส้นทางที่สอง เดินทางตาม
ถนนพหลโยธิน มาถึงสามแยกพุแค ให้ไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ (ตามทางหลวงหมายเลข 21) มุ่ง
หน้าสู่อำเภอพัฒนานิคมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองเส้นทางนี้ในช่วงที่มีเทศกาลทุ่งทานตะวันบาน จะมี

ทิวทัศน์สองข้างทางที่สวยงามมาก ท่านสามารถเยี่ยมชม ถ่ายภาพ ในทุ่งทานตะวันได้ โดยอาจ
เสียค่าเยี่ยมชมเล็กน้อย รวมทั้งยังสามารถซื้อของฝาก เช่น น้ำผึ้ง ของฝากจากจังหวัดลพบุรี

หรือผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวันได้อีกด้วย

อีกเส้นทางหนึ่งที่นิยมคือ เส้นทางรถไฟ โดยจะมีรถไฟออกเดินทางจาก
สถานีรถไฟหัวลำโพงทุก

วัน ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยการโทร 1690 โดยขบวนรถไฟ

จะวิ่งผ่านอ่างเก็บน้ำของ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์บางขบวนจะจอดที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อให้ผู้

โดยสารได้แวะถ่ายภาพอีกด้วย



















วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพ่อ 5 ธันวามหาราช

5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552



8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิดๆ

8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่คุณเคยรู้ไหมว่ามีบางคำที่ฝรั่งเค้าไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก ผมจึงเสนอคำศัพท์สัก 10 ตัวอย่างที่คนไทยมักใช้อย่างผิดๆพร้อมทั้งคำที่ถูกต้องซึ่งคุณควรนำไปใช้เวลาคุยกับฝรั่ง เริ่มเลยแล้วกันค่ะ

1) อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคนไทยหรอกครับ เค้าจะใช้คำว่า "trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้

2) เว่อร์ (over) เช่น ใยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า "exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น

He said you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์ "No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง

ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)

3) ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า "I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า "I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากล่ะครับ ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า "subtitles" (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ

หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า "closed-captioned films/คำหวงห้าม/television programs" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า "CC" เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ

4) นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า "freshy" ซึ่งฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกครับ เพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า "fresher" หรือ "freshman" เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วค่ะ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior

5) อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ "เร็ค-คอร์ด" เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า "รี-คอร์ด" เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์

6) ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยค่ะ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า "Let's go Dutch." หรือ "Go Dutch (with somebody)." อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า "You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะครับ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า "It's my treat this time." หรือ "My treat." หรือ "It's on me." หรือ "All is on me." หรือ "I'll pay for you this time." ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า "It's your treat next time."

7) ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า "แจม" น่าจะหมายถึง "ร่วมด้วย" เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า "Do you want to join us?", "Do you want to come with us?" หรือ "Do you want to come along?" จะดีกว่าค่ะ

8) เขามีแบ็ค (back) ดี "He has a good back." ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ "a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้