วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552



ทำไมหิ่งห้อยจึงมีแสงสว่างในตัวเอง







แสงสว่างในตัวหิ่งห้อยนั้นเกิดจาก สารลูซิเฟอริน (Luciferin) ไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีสารอีกตัวหนึ่งคือ ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ ได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดยตรง แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะเป็นแสงที่ปราศจากความร้อน ซึ่งเราสามารถจับดูได้ และปริมาณแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็นับว่าน้อยมาก เพียงหนึ่งในพันของแสงจากแสงเทียนไขธรรมดาแสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวับวาบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออกแสงจะดับ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด หิ้งห้อยจะใช้แสงของมันในการล่อเพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อของมัน



ทำไมเวลายุงบินจึงมีเสียงดัง






เสียงแมลงที่บินเกิดจากการกระพือปีกด้วยอัตราความเร็วสูง จากการสำรวจพบว่า ปีกของผึ้งจะกระพือปีกด้วยอัตราเร็วประมาณ 200 ครั้ง/วินาที ส่วนยุงกระพือปีกได้เร็วประมาณ 300 ครั้ง/วินาที การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดคลื่นเสียงในอากาศ จึงเป็นที่มาของเสียง "หึ่งๆ" นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า แมลงอาจใช้วิธีที่เรียกว่า "การได้จังหวะ" เพื่อให้ปีกของมันเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว อธิบายโดยการหยิบยกกรณีการแกว่งของลูกตุ้ม ซึ่งถ้าแขวนอยู่มันก็จะแกว่งแบบอิสระ ถ้าเราเอามือไปผลักเบาๆ มันก็จะแกว่งในอัตราธรรมชาติ และได้ตามจังหวะของมัน เราไม่จำเป็นต้องออกแรงผลักทุกครั้งที่แกว่ง แต่สามารถเลือกผลักตามจังหวะ แกว่งเมื่อใดก็ได้ เช่น แกว่ง 3 ครั้ง จึงผลักหรือแกว่ง5 ครั้งจึงผลัก อย่างนี้เป็นต้น แต่ลูกตุ้มนั้นก็จะยังคงแกว่งด้วยอัตราจังหวะหรือความถี่เดียวกัน หากเราผลักได้เวลาเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวไปและกลับของลูกตุ้มในทำนองเดียวกัน ยุงก็จะกระพือปีกด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ปีกแต่ละข้างของมันจะมีข้อต่อกับทรวงอกหรือตอนกลางของตัวแมลง การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในอัตราที่ค่อนข้างช้า จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนด้วยอัตราธรรมชาติที่สูง จึงทำให้เกิดเสียงค่อนข้างสูงอย่างที่เราได้ยิน





ไม่มีความคิดเห็น: