วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

อาหารเช้าสำคัญมากนะ

อาหารเช้า ขุมพลังงานสำคัญระหว่างวัน
อย่างที่เราก็ทราบกันอยู่แล้วว่าอาหารมื้อเช้าสำคัญมากที่สุด แต่กลับถูกละเลยง่ายที่สุด เพราะเหตุผลสั้นๆ ว่า ไม่มีเวลากิน กินไม่ทัน หรือ ยังไม่ตื่น
มีงานวิจัยสนับสนุนความดีของอาหารเช้าคือ เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยบริสทอล ทำการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและระดับความพึงพอใจในชีวิตของคน 127คน แล้วรายงานลงในวารสาร The International Journal of Food Science and Nutrition พบว่า คนที่กินอาหารเช้าเป็นประจำทุกวันจะรู้สึกเครียดและหดหู่ระหว่างวันน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กิน และมีโอกาสสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินอาหารเช้าด้วย

นั่นเป็นเพราะอาหารเช้าเหมือนกับเป็นขุมพลังเริ่มแรกของวันหลังจากไม่ได้กินอะไรมากว่า 10-12 ชั่วโมงช่วงกลางคืน ยิ่งคุณได้กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงๆ สารอาหารที่กินเข้าไปจะถูกใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ ในวันนั้นทั้งวัน ทำให้พลังงานแล่นปรู๊ดปร๊าด หัวสมองแจ่มใสไม่หงุดหงิดแต่เช้า ข้อสำคัญ หากไม่กินแล้วปล่อยให้ตัวเองหิว นอกจากโรคกระเพาะจะถามหาแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะไปกินทดแทนความหิวเอาในมื้ออื่นๆ หรือกินจุบจิบระหว่างวัน พอร่างกายเผาผลาญไม่ทัน อาหารเหลือใช้ก็เกิดการสะสมในร่างกาย ทำให้อ้วนง่ายไปเสียอีก แทนที่จะผอมลงอย่างที่ใครๆ คิดกัน




อาหารเช้าแบบไหนล่ะที่ควรเลือกกิน?

หากคุณมีเวลาเพียงพอก่อนไปถึงที่ทำงานเดินแวะร้านอาหารสักร้านก็คงไม่มีปัญหา แต่หากใครที่จำเป็นต้องเร่งรีบ มีเวลาน้อย อาหารที่เหมาะควรเป็นอาหารทำง่าย เสร็จเร็ว และมีประโยชน์ ถ้าจะให้ดีควรมีไขมัน โคเลสเตอรอล และเกลือน้อยๆ หน่อย อย่างเช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไม่ว่าจะเป็นข้าวต้มกุ้ง ปลา หมู หรือไก่สับ หรือเมนูอาหารพวกไข่ดาว ขนมปังปิ้ง แบบโฮลวีต ไม่ขัดขาวที่ให้วิตามินและไฟเบอร์เสริม
ไม่ก็พวกแพนเค็ก ราดแยมหรือซอสแอ๊ปเปิ้ล ต่างๆ (กินแยมผลไม้แทนเนยจะดีกว่า) กับนมสดไขมันต่ำ โยเกิร์ต หรือน้ำผลไม้ที่มีรสออกไปทางเปรี้ยว พวกน้ำส้ม องุ่น สตรอเบอร์รี่ ฯลฯ เพื่อให้ได้วิตามินซี หากต้องการความง่ายไปกว่านั้นอีกก็อาจจะเลือกกินโยเกิร์ต หรือนมสดไขมันต่ำโรยด้วยคอร์นเฟล็ค บางคนอาจเลือกกินกับผลไม้สดพวก แอ๊บเปิ้ล กล้วย มะละกอ ส้ม หั่นเป็นชิ้นพอคำ ก็ยิ่งได้คุณค่าวิตามินที่ดีต่อสุขภาพด้วย
อาหารยอดนิยมอย่างเบคอน หมูแฮม ไส้กรอก แม้กระทั่งยำผักกาดดองที่กินกับข้าวต้ม จะกินก็ได้แต่ก็ควรจำกัดลงบ้างนะคะ เพราะเหล่านี้เป็นอาหารที่ผ่านการหมักมาหลายขั้นตอน แม้รสชาติจะเอร็ดอร่อยแต่กินบ่อยๆ ย่อมไม่ดีต่อร่างกายแน่ค่ะ


วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552



ทำไมหิ่งห้อยจึงมีแสงสว่างในตัวเอง







แสงสว่างในตัวหิ่งห้อยนั้นเกิดจาก สารลูซิเฟอริน (Luciferin) ไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีสารอีกตัวหนึ่งคือ ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ ได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดยตรง แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะเป็นแสงที่ปราศจากความร้อน ซึ่งเราสามารถจับดูได้ และปริมาณแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็นับว่าน้อยมาก เพียงหนึ่งในพันของแสงจากแสงเทียนไขธรรมดาแสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวับวาบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออกแสงจะดับ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด หิ้งห้อยจะใช้แสงของมันในการล่อเพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อของมัน



ทำไมเวลายุงบินจึงมีเสียงดัง






เสียงแมลงที่บินเกิดจากการกระพือปีกด้วยอัตราความเร็วสูง จากการสำรวจพบว่า ปีกของผึ้งจะกระพือปีกด้วยอัตราเร็วประมาณ 200 ครั้ง/วินาที ส่วนยุงกระพือปีกได้เร็วประมาณ 300 ครั้ง/วินาที การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดคลื่นเสียงในอากาศ จึงเป็นที่มาของเสียง "หึ่งๆ" นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า แมลงอาจใช้วิธีที่เรียกว่า "การได้จังหวะ" เพื่อให้ปีกของมันเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว อธิบายโดยการหยิบยกกรณีการแกว่งของลูกตุ้ม ซึ่งถ้าแขวนอยู่มันก็จะแกว่งแบบอิสระ ถ้าเราเอามือไปผลักเบาๆ มันก็จะแกว่งในอัตราธรรมชาติ และได้ตามจังหวะของมัน เราไม่จำเป็นต้องออกแรงผลักทุกครั้งที่แกว่ง แต่สามารถเลือกผลักตามจังหวะ แกว่งเมื่อใดก็ได้ เช่น แกว่ง 3 ครั้ง จึงผลักหรือแกว่ง5 ครั้งจึงผลัก อย่างนี้เป็นต้น แต่ลูกตุ้มนั้นก็จะยังคงแกว่งด้วยอัตราจังหวะหรือความถี่เดียวกัน หากเราผลักได้เวลาเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวไปและกลับของลูกตุ้มในทำนองเดียวกัน ยุงก็จะกระพือปีกด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ปีกแต่ละข้างของมันจะมีข้อต่อกับทรวงอกหรือตอนกลางของตัวแมลง การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในอัตราที่ค่อนข้างช้า จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนด้วยอัตราธรรมชาติที่สูง จึงทำให้เกิดเสียงค่อนข้างสูงอย่างที่เราได้ยิน





วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552



Le Manneken Pis, de son nom en dialecte brusseleer (bruxellois) Menneke Pis signifiant « le môme qui pisse », aussi connu sous le nom de Petit Julien, est une statue en bronze d'une cinquantaine de centimètres qui est en fait une fontaine représentant un petit garçon en train d'uriner. Elle est située au cœur de Bruxelles, dans le quartier Saint-Jacques, à deux pas de la Grand-Place, à l'intersection des rues « de l'Etuve » et « du Chêne ». Cette statue est le symbole de l'indépendance d'esprit des Bruxellois.


La statuette aurait été commandée en 1619 à Jérôme Duquesnoy l'ancien (1570-1641), grand sculpteur bruxellois de l'époque, père de Jérôme Duquesnoy le jeune et François Duquesnoy, de réaliser cette statue en bronze. Celle-ci fut protégée par les Bruxellois lors du siège de la ville par les Français en 1695. La statue actuelle serait une réplique, l'original ayant disparu dans les années 1960.


Trois légendes circulent à son propos. Une d'entre elles raconte qu'un enfant aurait éteint, à sa manière, la mèche d'une bombe avec laquelle les ennemis voulaient mettre le feu à la cité ; une autre raconte qu'un enfant perdu aurait été retrouvé par son père, riche bourgeois de Bruxelles, dans la position que l'on imagine ; et selon la dernière, lors d'un défilé du roi Léopold Ier à Bruxelles en 1841, un jeune garçon se vit surpris par celui-ci dans la position qu'on lui connait.


Il est de tradition d'offrir au Manneken Pis des vêtements à des occasions spéciales notamment pour honorer une profession. La garde-robe actuelle comprend des centaines de costumes qui sont pour la plupart conservés à la Maison du Roi, un musée de la ville de Bruxelles, situé sur la Grand-Place.


Autrefois, le jet d'eau était à l'occasion de fêtes remplacé par des breuvages moins transparents (hydromel, vin). Ainsi, on rapporte qu'en 1890, au cours de grandes fêtes bruxelloises qui se déroulèrent durant deux jours, le petit bonhomme distribua du vin et du lambic (bière bruxelloise). Actuellement, certaines sociétés folkloriques bruxelloises, ont gardé pour tradition lors de célébrations annuelles (Saint-Verhaegen,...) d'offrir à boire en faisant couler de la bière par le Manneken pis.


Le Manneken Pis est devenu avec la Grand-Place et l'Atomium, un des symboles de Bruxelles.
Une version féminine du Manneken Pis se trouve également à Bruxelles, la Jeanneke Pis.



กฏแห่งกรรม

1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย
*** เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์

2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอยู่เสมอ
***เพราะชาติก่อนคุณเคยทำทานอาหารแก่คนยากจนในชาติก่อน

3. เหตุใดชาตินี้คุณอดอยากยากจน ไม่มีเสื้อผ้าดีดีสวมใส่
***เพราะคุณตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมทำทานคนจน ในชาติก่อน

4. เหตุใดชาตินี้คุณมีบ้านเรือนให­่โต
***เพราะคุณเคยถวายข้าวสารเข้าวัดในชาติก่อน

5. เหตุใดชาตินี้คุณมีความเจริ­รุ่งเรืองและมีความสุขมาก
***เพราะคุณเคยถวายเงินสร้างวัดในชาติก่อน

6. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนสวย และรูปงาม
***เพราะคุณเคยถวายดอกไม้สดบูชาพระด้วยความเคารพในชาติก่อน

7. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมีปั­­าดี
*** เพราะคุณเคยเป็นพุทธมามกะและทานมังสวิรัติในชาติก่อน

8. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นที่รักของทุกๆ คนและมีเพื่อนมากมาย
***เพราะคุณเคยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคนในชาติก่อน

9. เหตุใดชาตินี้คุณมีพ่อ แม่อยู่พร้อมหน้า
***เพราะคุณเคารพและให้ความช่วยเหลือ ไม่ดูแคลนคนไร้­าติในชาติก่อน

10. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นเด็กกำพร้า
***เพราะคุณเคยยิงนก ตกปลา และพรากสัตว์ในชาติก่อน

11. เหตุใดชาตินี้คุณมีอายุยืนแข็งแรง
***เพราะคุณเคยปล่อยนก ปล่อยปลา สิ่งมีชีวิตในชาติก่อน

12. เหตุใดชาตินี้คุณอายุสั้น
*** เพราะชาติก่อนคุณเคยฆ่าสัตว์มากมาย

13. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนรับใช้
***เพราะชาติก่อนคุณเคยดูถูกเหยียดหยามคนจน

14. เหตุใดชาตินี้คุณมีดวงตาสดใส
***เพราะชาติก่อนคุณเคยเติมน้ำมันตะเกียงและจุดไฟบูชาพระ

15. เหตุใดชาตินี้คุณโง่ปั­­าอ่อนและหูหนวก
***เพราะชาติก่อนคุณเคยด่าว่าและหยาบคายต่อหน้าพ่อแม่

16. เหตุใดชาตินี้คุณต้องตายเพราะยาพิษ
***เพราะชาติก่อนคุณเจตนาวางยาในต้นน้ำลำธารให้เป็นพิษ

17. เหตุใดชาตินี้คุณจึงแขวนคอตาย
***เพราะชาติก่อนคุณใช้ตะข่ายล่าและดักสัตว์

18. ถ้าชาตินี้คุณฆ่าเขา
***ชาติหน้าเขาก็จะฆ่าคุณ และจะฆ่ากันไป-มาไม่มีสิ้นสุด

19. ถ้าชาตินี้คุณบอกเล่ากฏแห่งกรรม
***คุณจะเป็นที่เคารพนับถือมากมายในชาติหน้า



สร้างบุญ สร้างกุศล
เพื่อสิ่งดีๆในภพหน้า////


อนุโมทนา****สาธุ




อุปราคาปี2552




ในปีพศ.2552 จะมีปรากฏการณ์เกี่ยวในปีพศ.2552 จะมีปรากฏการณ์เกี่ยวอุปราคา 6 ครั้งบนโลก คือ สุริยุปราคา 2 ครั้ง และ จันทรุปราคา 4 ครั้ง ซึ่งจะมีบางปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย ผู้เขียนจะเพียงกล่าวถึงเท่านั้นเพื่อเป็นความรู้ อุปราคาทั้ง 6 ครั้งได้แก่

1) สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) วันที่ 26 มกราคม 2552 เกิดที่ประเทศอินโดนิเซีย แต่สามารถมองเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนได้ในประเทศไทย

2) จันทรุปราคาในเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552

3) จันทรุปราคาในเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) วันที่ 7 กรกฏาคม 2552 มองไม่เห็นในประเทศไทย

4) สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) ที่ประเทศจีน วันที่ 22 กรกฏาคม 2552 แต่ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน

5) จันทรุปราคาในเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) วันที่ 6 สิงหาคม 2552 มองไม่เห็น

6) จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) วันที่ 31 ธันวาคม 2552 สามารถเห็นได้จากประเทศไทย


สุริยุปราคาวงแหวน วันที่ 26 มกราคม พศ. 2552


ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน เนื่องจากโลกพึ่งจะผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 4 มค. และประกอบกับวันที่ 22 มค.ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลจากโลกที่สุด ทำให้ขนาดเชิงมุมของดวงอาทิตย์ (32 arcmin) ใหญ่กว่าขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ (30 arcmin) ทำให้เกิดการบังกันไม่หมด ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในครั้งนี้เริ่มต้นทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติค พาดข้ามมหาสมุทรอินเดีย มาขึ้นฝั่งทางทิศตะวันตกของประเทศอินโดนิเซีย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 14,500 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่เวลา 06.02UT สิ้นสุดที่เวลา 09.54UT และอยู่ในช่วงเป็นวงแหวนอยู่นาน 7 นาที 54 วินาที ที่บริเวณศูนย์กลางของอุปราคาทางตอนกลางของมหาสมุทรอินเดีย และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 50 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros) ลำดับที่ 131







ภาพตัวอย่าง ของสุริยุปราคาวงแหวน เกิดขึ้นจากขนาดความกว้างเชิงมุมของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ไม่เท่ากันพอดี ทำให้มีส่วนสว่างของดวงอาทิตย์เหลืออยู่ การสังเกตจะไม่สามารถมองโดยตรงได้ จะต้องมองผ่านฟิลเตอร์กรองแสงที่ได้มาตรฐานเท่านั้น

สำหรับประเทศไทยซึ่งอยู่บริเวณตอนบนของประเทศอินโดนิเซีย อยู่ในแถบเงามัวของดวงจันทร์ทำให้สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาบางส่วนมองเห็นได้ทั่วทั้งประเทศ โดยที่ทางภาคใต้จะมีส่วนที่มืดมากกว่าทางตอนบนของประเทศ ที่กรุงเทพมหานครจะเริ่มเห็นสัมผัสแรกเวลา 15.54 น. สูงสุดเวลา 17.06 น. จะเห็นดวงอาทิตย์เข้าคราสหายไปประมาณ 30% และสิ้นสุดเวลา 17.59 น.ซึ่งดวงอาทิตย์ในวันนั้นที่กรุงเทพฯจะตกเวลา 18.13 น. ทำให้ที่กรุงเทพมหานครฯ สามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ตลอดช่วงก่อนอาทิตย์ตกดิน สำหรับทางภาคใต้ ใต้สุดที่ จ.นราธิวาส ละติจูดประมาณ 5 องศาเหนือ จะเริ่มสัมผัสแรกเร็วกว่านิดหน่อยประมาณ 15.37น. เข้าคราสสูงสุดเวลา 16.49น. กินไปมากสุดประมาณ 45% สิ้นสุดเวลา 18.01 น. ทางภาคเหนือ ตอนเหนือสุดที่ จ.เชียงราย ละติจูดประมาณ 20 องศาเหนือ จะเริ่มสัมผัสแรกเวลา 16.09 น. เข้าคราสสูงสุดเวลา 17.06น. เกิดส่วนมืดบนดวงอาทิตย์ประมาณ 20% แล้วสิ้นสุดเวลา 17.52 น. จะเห็นว่าแต่ละส่วนของประเทศจะเห็นในช่วงเวลาต่างกันเล็กน้อย แต่ปริมาณส่วนมืดจะต่างกัน

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

Chinese New Year



Chinese New Year or Spring Festival is one of the most important traditional Chinese holidays. It is sometimes called the Lunar New Year, especially by people outside China. The festival traditionally begins on the first day of the first lunar month (Chinese: 正月; pinyin: zhēng yuè) in the Chinese calendar and ends on the 15th; this day is called Lantern Festival. Chinese New Year's Eve is known as Chúxī. It literally means "Year-pass Eve".



Celebrated in areas with large populations of ethnic Chinese, Chinese New Year is considered a major holiday for the Chinese and has had influence on the new year celebrations of its geographic neighbours, as well as cultures with whom the Chinese have had extensive interaction. These include Aboriginal Taiwanese people, Koreans, Mongolians, Nepalese, Bhutanese, Vietnamese, and formerly the Japanese before 1873. In Mainland China, Hong Kong, Macau, Taiwan, Singapore, Indonesia, Malaysia, the Philippines, Thailand and other countries or regions with significant Han Chinese populations, Chinese New Year is also celebrated, and has, to varying degrees, become part of the traditional culture of these countries. In Canada, although Chinese New Year is not an official holiday, many ethnic Chinese hold large celebrations and Canada Post issues New Year's themed stamps in domestic and international rates.


Although the Chinese calendar traditionally did not use continuously numbered years, its years are now often numbered from the reign of Huangdi outside China. But at least three different years numbered 1 are now used by various writers, causing the year beginning in 2008 to be 4706, 4705, or 4645.
The 2009 date for Chinese New Year is January 26.

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

ลิลิตตะเลงพ่าย

อ่านเลย/////จะสอบแล้ว//มีความรู้มากๆ***ถอดคำประพันธ์จากในหนังสือ

ลิลิตตะเลงพ่าย

ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี
(ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ พร้อม สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี (โคลงสี่สุภาพ) บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า

ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือ โอวาท 8 ประการ
1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)
2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)
3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)
4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)
5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)
6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)
7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า (หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)
8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
ครั้งทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างพม่ากับไทยในปัจจุบัน) ก็ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาในเขตสยามทันที และพระองค์ได้ทรงรำพันถึงนางสนมว่า เสด็จมาลำพังพระองค์เดียวเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้านัก เมื่อทรงชมต้นไม้และดอกไม้ที่ทรงพบเห็นระหว่างทางก็ค่อยเบิกบานพระทัยขึ้นมาบ้าง แต่ก็ไม่วายคิดถึงนางสนมกำนัลทั้งหลาย ทรงเห็นต้นสลัดไดทรงดำริว่าเหตุใดจึงต้องจากน้องมานอนป่า มาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก เห็นต้นสละที่ต้องสละน้องมาเหมือนชื่อต้นไม้ เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้ช่างเหมือนอกพี่แท้ๆ ต้นสายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่น แต่ใจพี่แม้ยามสายก็ไม่คลายรักน้อง กี่วันกี่คืนที่จากน้องพี่มีแต่ความทุกข์คิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดรักน้องได้อย่างไร กองทัพมอญดูมืดฟ้ามัวดิน ทั้งกองทัพ ม้า ช้าง ถืออาวุธเป็นมันปลาบ เห็นธงปลิวไสวเต็มทองฟ้า ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่ กษัตริย์ เห็นกองทัพยกมาก็ตกใจ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ เจ้าเมืองทราบข่าวศึกก็ตกใจมากจนขวัญไม่อยู่กับตัว ปรึกษากันแล้วก็เห็นว่าเมืองเรามีกำลังน้อย ต่อสู้ก็คงสู้ไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่าไป ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ กองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จะจับคนไทยมาสอบถามก็ไม่มีเลยสักคน จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมดแล้ว พระมหาอุปราชาจึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้ พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก ด้วยความหมกมุ่นในพระทัยก็ทรงระลึกถึงพระราชบิดาว่าถ้าพระองค์เสียโอรสให้แกข้าศึก จะต้องโทมนัสใหญ่หลวง เพราะเปรียบเหมือนพระองค์ถูกตัดพระพาหาทั้งสองข้างทีเดียว การรบกับพระนเรศวรใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน สงสารสมเด็จพระราชบิดา ที่จะต้องเปล่าเปลี่ยวพระทัย ทั้งพระองค์ก็ทรงชราภาพมากแล้ว เกรงจะพ่ายแพ้เสียทีแก่ชาวสยาม สงครามครั้งนี้หนักใจนัก เรารู้สึกหนาวเหน็บอยู่ในใจ ลูกตายใครจะเก็บผีไปให้ คงจะถูกทิ้งอยู่ไม่มีใครเผา พระองค์จะอยู่ในพระนครแต่ลำพังพระองค์เดียว ไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ริเริ่มสงครามเพียงลำพังได้อย่างไร พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่า แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ

ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข แล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไปตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบักสักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้ พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้านเมือง แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
สมเด็จพระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า เราเตรียมทัพจะไปตีเขมร ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า ไม่ให้เราไปรบเขมร เราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้ พอรับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญแล้ว สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา 23 หัวเมืองใต้ เป็นทัพหน้า ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 8.30 น. เมื่อได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปากโมก เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จเข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ เรื่องราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุตธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วยพระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเดชานุภาพได้ พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่ง คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองงาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก แล้วสมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

ตอนที่ 7 พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย

ฝ่ายกองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่ายจึงรีบกลับไปทูลแด่องค์พระมหาอุปราชา พระองค์ตรัสถามนายกองทั้งสามว่าประมาณกำลังพลฝ่ายไทยประมาณเท่าใด นายกองกราบทูลว่า ประมาณสิบ – สิบแปด หมื่น ดูเต็มท้องทุ่ง พระมหาอุปราชาตรัสว่ากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ออกมารอรับทัพเป็นกองใหญ่ แต่กำลังน้อยกว่าของเรา ของเรามากกว่าหลายส่วน เราจะต้องรีบโจมตีหักเอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา ก็ยกไปโดยกะสว่างเอาข้างหน้า พรุ่งนี้เช้าจะได้เข้าโจมตี เสนาผู้ใหญ่ได้ทำตามรับสั่ง เมื่อถึงเวลาตีห้า พระมหาอุปราชาแต่งองค์แล้วเสด็จประทับช้างพลายพัธกอซึ่งกำลังตกมัน พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนา คือแบ่งเป็นทัพใหญ่ 3 ทัพ แต่ล่ะทัพแยกออกเป็น 3 กอง ดังนี้
กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี (นายกองหน้า ปีกซ้าย)
พระยาสุพรรณบุรี ( นายกองหน้า )
เจ้าเมืองนนทบุรี (นายกองหน้า ปีกขวา)
กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี (นายกอง ปีกซ้าย)
พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ)
เจ้าเมืองสิงห์บุรี (นายกอง ปีกขวา) กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท
(นายกองหลัง ปีกซ้าย) พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพคุมกองหลัง)
พระยาวิเศษชัยชาญ (นายกองหลัง ปีกขวา)
ทัพไทยเคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพมอญ ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ ต่างฝ่ายก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็ต่อสู้กันอย่างไม่เกรงกลัว กองทัพมอญที่ตามมามีมากขึ้น ตีโอบล้อมกองทัพไทย ฝ่ายไทยกำลังน้อยกว่า กระจายออกรับไม่ไหว จึงต้องถอย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียงตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน
ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาขึ้นม้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงกองทัพไทยที่กำลังล่าถอย รับพลางถอยพลาง มอญตามมาอย่างกระชั้นชิด หมื่นทิพเสนาได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ทัพไทยได้ปะทะกับทัพมอญที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกำลังข้าศึกมีมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกษาอย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า “ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควรที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนายกองเห็นชอบด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งทัพหน้าของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าไทยจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าไม่รู้กลอุบาย ก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก
ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง คือ พระเจ้าไชยานุภาพ และ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้สดับเสียง ฆ้อง กลอง และเสียงปืนของข้าศึก ก็ส่งเสียงร้องด้วยความคึกคะนอง เพราะกำลังตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ มันวิ่งไปโดยเร็ว จนทหารในกองตามไม่ทัน มีแต่กลางช้างและควาญช้างสี่คนเท่านั้นที่ตามเสด็จไปด้วยจนเข้าไปใกล้กองหน้าของข้าศึก ช้างศึกได้กลิ่น มัน ก็พากันตกใจหนีไปปะทะกับพวกที่ตามมาข้างหลัง ช้างทรงไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกยิงปืนเข้าใส่ แต่ไม่ถูกช้างทรง การต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสประกาศแด่เทวดาทั้งหลายบนสวสรรค์ทั้งหกชั้น และพรหมทั้งสิบหกชั้นว่า ที่ให้พระองค์ท่านมาประสูตรเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติก็ด้วยหวังจะให้ทะนุบำรุงศาสนา และพระรัตนตรัยให้เจริญรุ่งเรือง เหตุใดเล่าเทวดาจึงไม่บันดาลให้ท้องฟ้าสว่างมองเห็นข้าศึกได้ชัดเจน พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ข่อย มีทหารห้อมล้อมและตั้งเครื่องสูงครบครัน ทั้งสองพระองค์ทรงไสช้างเข้าไปหาด้วยพระพักตร์ที่ผ่องใสไม่เกรงกลัวแม้แต่น้อย ข้าศึกยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็มิได้ต้องพระองค์เลย

ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสอันไพเราะไม่มีสุรเสียงขุ่นแค้นพระทัยเลยแม้แต่น้อยว่า “ ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญ พระเกียรคิยศเลื่องลือไปไกลทั่วทั้งสิบทิศ ข้าศึกได้ยินก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ ไม่กล้าสู้รบพากันหนีไป พระเจ้าผู้พี่ปกครองประเทศอันบริบูรณ์ยิ่ง เป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพระองค์เสด็จมาร่วมทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรคิไว้ให้เป็นที่ปรากฏ ต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว การรบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ ต่อไปจะไม่ได้ไม่พบอีก การที่กษัตริย์ทำยุทธหัตถีกัน ก็คงมีแต่เราสองพี่น้อง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย การทำยุทธหัตถีก็เปรียบประดุจการเล่นที่รื่นเริงของกษัตริย์เพื่อให้ชมเล่นเป็นขวัญตาแก่มนุษย์จนถึงเมืองสวรรค์ ขอทูลเชิญเทวดาและพรหมทั้งปวงมาประชุมในสถานที่นี้เพื่อชมการยุทธหัตถี ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่า ขอทรงอวยพรให้ผู้นั้นรับชัยชนะ หวังจะให้พระเกียรติยศในการรบครั้งนี้ดำรงอยู่ชั่วฟ้าดิน ว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้กระทำสงครามกัน ใครรู้เรื่องก็จะได้ยกย่องสรรเสริญกันตลอดไป ” เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ตรัสพรรณาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะกล้าหาญขึ้น รีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็วด้วยความกล้าหาญ ช้างทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่ สองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน กษัตริย์แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย และไม่ได้ลดความห้าวหาญลงแม้แต่น้อย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งตามแบบฉบับ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงนสูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์ ทันใดนั้นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัดได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย ช้างของพระมหาอุปราชาเสียท่าต้องถอยหลังพลาดท่าในการรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวาขาดสะพายแล่ง พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันจนเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์ ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียรนั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย ทั้งสองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระบรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง กองทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระมหาอุปราชาขาดคอช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้

ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้สร้างสถูปสวมทับที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี ณ ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสืบต่อไป เสร็จศึกยุทธหัตถีแล้ว สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เจ้าเมือง มล่วน รวมทั้งควาญช้างกลับ ไปแจ้งข่าวการแพ้สงครามและการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี แล้วพระองค์ก็ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ชื่อเสียงของกรุงศรีอยุธยาก็ลือเลื่องไปทั้งแผ่นดิน จากนั้นก็ทรงปรารภเรื่องการพระราชทานความดีความชอบแก่ พระยารามราฆพ ( กลางช้างของพระนเรศวร ) และ ขุนศรีคชคง ( ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ) โดยพระราชทานบำเหน็จ เครื่องอุปโภค เงิน ทอง ทาส และเชลยให้แล้วก็พระราชทานบำนาญแก่บุตรภรรยาของ นายมหานุภาพ และ หมื่นภักดีศวร ที่เสียชีวิตในสงครามให้สมกับความดีความชอบและที่มีความภักดีต่อพระองค์ ต่อมาก็ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันตามกฎของพระอัยการศึกว่า ในการที่ข้าศึกยกทัพเข้ามาเหยียบแดนถึงชานพระนคร พระองค์และพระเอกาทศรถทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำนุบำรุงเหล่าสมณพราหมณ์และประชาราษฎรมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จออกไปปราบอริราชศัตรู แต่แม่ทัพนายกองทั้งปวงกลับกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระอาญา ไม่พยายามยกไปรบให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง จนถึงได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ลูกขุนได้เชิญกฎพระอัยการออกค้นดู เห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วัน 15 ค่ำ ( บัณรสี ) จึงทรงพระกรุณางดโทษไว้ก่อน ต่อวันหนึ่งค่ำ (ปาฏิบท) จึงให้ลงโทษประหาร

ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
ยังไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ 25 องค์สองแผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสี พากันไปยังพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้นิมนต์เข้าไปในท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรทรงประนมพระหัตถ์แสดงคารวะ พระวันรัตได้ทูลถามข่าวที่สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจนพระมหาอุปราชาขาดคอช้าง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเล่าจบ พระวันรัตกราบทูลว่า พระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงได้รับชัยชนะ เหตุใดเล่าเหล่าบริพารจึงต้องโทษ ได้ยินแล้วที่สงสัย สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับเกณฑ์เข้าในกองทัพ เมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัว ยิ่งกว่ากลัวพระองค์ซึ่งเป็นเจ้านาย ไม่ตามเสด็จให้ทัน ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบท่ามกลางข้าศึกจำนวนมากจนมีชัยชนะรอดพ้นความตายจึงได้มาดูหน้าพวกทหารเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้คอยอุดหนุนพระบรมเดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจเสียแผ่นดินแก่กรุงหงสาวดีเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศ จึงควรลงโทษถึงตายตามพระอัยการศึกเพื่อให้เป็นตัวอย่างมิให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างสืบไป สมเด็จพระวันรัตจึงกราบทูลว่า “ บรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนมีความจงรักภักดี เป็นการผิดแปลกไปจากแบบแผนแต่ก่อนที่ว่าไม่จงรักยำเกรงพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระบรมเดชานุภาพสำแดงให้ปรากฏแก่ปวงชนเป็นที่น่าอัศจรรย์จึงบันดาลให้เป็นเช่นนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ( พระตรีโลกนาถ ) ทรงชนะพระยามารลำพังพระองค์เอง เช่นเดียวกับสมเด็จพระนเรศวร พระเอกาทศรถ เสด็จไปปราบอริราชศัตรูจนแพ้พ่ายโดยปราศจากไพร่พล พระเกียรติยศจึงเลื่องลือกึกก้องไปทั่วทุกแห่งหน หากมีทหารล้อมมากมายถึงเอาชนะได้ พระเกียรติยศก็ไม่ฟุ้งเฟื่องเพิ่มพูนขึ้น และกษัตริย์ทั้งหลายก็จะไม่พากันออกพระนามเอิกเกริกกันเช่นนี้ ขอพระองค์ทั้งสองอย่าได้โทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเพื่อราชกฤฎาภินิหารของพระองค์ ทวยเทพทั้งหลายจึงบันดาลให้เป็นไปดังนั้น ขอมหาบพิตรทั้งสองพระองค์ อย่าได้ทรงขุ่นแค้นพระทัยไปเลย ทั้งนี้เป็นไปตามที่กราบทูลทุกประการ ” สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังพระวันรัตถวายวิสัชนาบรรยายโดยพิสดารโดยวิธีเปรียบเทียบกับกฤฎาภินิหารแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์สาธุถวายนมัสการแล้วตรัสว่า พระวันรัตกล่าวคำน่าขอบใจ ทุกสิ่งที่ชี้แจงสมควรและเป็นจริงไม่สงสัยแม้แต่น้อย พระวันรัตเห็นว่าทรงคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้ว จึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง แล้วกราบทูลต่อไปว่า แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรง ควรได้รับโทษทั้งโคตร แต่เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ เปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมา ขอให้พระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นกำลังส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพ เมื่อศึกสงครามเกิดขึ้นอีก เขาเหล่านั้นจะคิดแก้ตัว หาความดีความชอบเพื่อเพิ่มพูนพระบารมีให้แผ่ไปทั่วบ้านเมืองชองพระองค์เป็นแน่ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับข้อความของพระวันรัตที่ทูลขออภัยบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งปวง ก็ทรงพระกรุณาที่ว่าบุคคลเหล่านี้ยังจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ จึงพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลของพระวันรัต แต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และ มะริด เป็นการชดเชยความผิด สมเด็จพระวันรัตกราบทูลว่า การรบทัพจับศึกไม่ใช่กิจอันควรที่พระภิกษุจะเห็นด้วย พระองค์จะทรงมีพระราชบัญชาใช้สอยประการใดสุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย แล้วสมเด็จพระวันรัตถวายพระพรลา พาคณะสงฆ์กลับวัด สมเด็จพระนเรศวรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพนายกองพ้นโทษและคงดำรงตำแหน่งยศเดิม สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชกำหนดให้ เจ้าพระยาคลังคุมทหาร 50,000 คน ไปตีเมืองทวาย ให้เจ้าพระยาจักรีคุมทัพจำนวนรี้พลเท่ากันไปตีเมือง มะริด และ ตะนาวศรี มหาอำมาตย์ทั้งสองกราบถวายบังคมลาไปเตรียมทัพยกไปทันที แล้วทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือว่า ไทยได้กวาดต้อนครอบครัวเข้ามาจำนวนมากแต่ยังไม่หมด ทรงมีพระราชดำริว่าถึงศึก พม่า มอญ ว่าคงจะลดลงถึงจะยกมาก็คงไม่น่ากลัว ควรจะได้ทะนุบำรุงหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ให้รุ่งเรืองปรากฏเป็นเกียรติยศสืบต่อไปชั่วกัลปาวสาน

รู้ไว้ขำๆ แก้เครียด ก่อนสอบ

ในโลกใบนี้มีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมาย แต่บางครั้งเราก็มองข้ามเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเราไป วันนี้
^^^รู้ไว้ขำๆ แก้เครียด ก่อนสอบ---
1. มนุษย์ต้องการสิ่งที่ตนเองไม่มี

2. เวลาที่เราวิ่งมารับโทรศัพท์จากที่ไกลๆ เมื่อถึงโทรศัพท์ เสียงมันมักจะหยุด เราจะช้าไป 1 จังหวะเสมอ
3. ถ้าแอบรักใคร อย่าฝากใครไปบอก บอกด้วยตัวเองจะดีกว่า

4. เวลาสั่งอาหารไว้นานแล้วยังไม่ได้สักที ให้พูดว่าไม่เอา จะได้เร็ว
5. ถ้าเรียกเก็บเงินแล้วไม่มีใครมาเก็บเสียที ให้ลุกขึ้นทำท่าจะกลับทั้งโต๊ะ จะมีพนักงานพุ่งมาทันที
6. ปลูกต้นลั่นทมไว้หน้าบ้าน ไม่เกี่ยวอะไรกับความทุกข์ระทมของตัวเราเลย
7. ระวังคนขายโรตี ที่เพิ่งเดินออกมาจากป่าละเมาะ , พุ่มไม้ , ซอกตึก อย่าตัดสินใจซื้อจนกว่าเขาจะล้างมือ
8. ไม่มีสัจจะในร้านตัดเสื้อ
9. ระวังคนที่แสดงออกว่าเป็นคนดีมากๆ
10. อย่าซื้อทุเรียนมาปอกเอง
11. หนังสือดี คือหนังสือที่เราชอบอ่าน , หนังดีคือ หนังที่เราชอบดู
12. อยากให้คนอื่นรู้เรื่องที่เรานินทามากๆ อย่าลืมย้ำบ่อยๆ ว่าอย่าบอกใครนะ
13. อย่าทิ้งกระดาษชำระไว้ในชามก๋วยเตี๋ยว คนล้างจะเสียความรู้สึก
14. เรียกยามว่าซีเคียวรีตี้ การ์ด ยามจะตั้งใจโบกรถ
15. อย่าซื้ออะไรที่ต้องเอามาซ่อมต่อ

16. รถในเมืองไทยพวงมาลัยอยู่ทางขวา แต่ฝาน้ำมันไม่อยู่ขวาเสมอไป
17. ไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนไม่ต้องเอายาสีฟันไปก็ได้ ยังไงเพื่อนต้องมี
18. ตลาด อ.ต.ก. มาจากคำว่า เอเวอรี่ติง เกินราคา
19. เวลาดูหนังโรง ควรจำว่ากระปุกน้ำอยู่ด้านไหน
20. ตัดผมวันพุธได้ ไม่บาป
21. คนไม่กินเนื้อ ไม่ได้แปลว่าเป็นคนดีเสมอไป
22. เวลาบ้วนน้ำยาลิสเตอรีนออกจากปาก ให้หลับตาด้วย
23. ปูอัด มันทำจากปลา
24. กินก๋วยเตี๋ยวจากตะเกียบไม้อร่อยกว่า
25. อย่าไปจ่ายตลาดเวลาหิว เราจะซื้อมาเยอะเกินจำเป็นเสมอ
26. ในโลกนี้จะชอบมีคนมาทักอยู่ 2 ประเภทเท่านั้น ประเภทแรก อ้วนขึ้นนะ กับประเภทที่ 2 ผอมลงนะ ไม่มีใครเข้ามาทักว่าปกติดีนี่ไปทำอะไรมา
27. คนที่เอาหมวกตำรวจ หรือชุดตำรวจแขวนไว้หลังรถมิใช่เพราะบ้านเค้าไม่มีตู้ เค้าไม่ได้ลืม เค้าแค่กลัวคนไม่รู้ว่าเขาทำอาชีพอะไร
28. คนที่มีรถทะเบียนเลขเดียวเรียงติดกันหลายๆ ตัว เป็นคนธรรมดาเหมือนกับเรา
29. คนที่มีความรู้มากๆ เขามักจะใช้ความรู้ขังจินตนาการ
30. ฟู่ฟ่าเดี๋ยวก็วาย เรียบง่ายอยู่ได้นาน
31. จงอย่าอิจฉาคนอื่น แต่จงใช้ชีวิตให้คนอื่นอิจฉา
32. เวลาที่เปิดหนังสือให้เพื่อนดู หน้าที่ตัวเองพูดถึงมักจะหาไม่เจอ
33. ขนมและน้ำในโรงหนัง จะแพงกว่าข้างนอก
34. ห้องน้ำผู้หญิง ผู้ชายเข้าไปดูเป็นพวกโรคจิต , ห้องน้ำผู้ชาย ผู้หญิงเข้ามาดูเป็นแม่บ้าน
35. เวลารถติด เลนอื่นมักไปได้เร็วกว่าเลนเราเสมอ
36. ถ้าเราขับรถไม่ทันไฟเขียวเป็นคันสุดท้าย ให้คิดว่าเดี๋ยวเราจะได้ไปเป็นคันแรก
37. ถ้ามีการแนะนำตัวว่า ' นี่เพื่อนฉัน ' หมายความว่า ' แฟนฉัน '
38. ถ้ามีการแนะนำตัวว่า ' นี่แฟนฉัน ' หมายความว่า ' สามี/ภรรยาฉัน

ขอขอบคุณความคิดดีๆที่ไม่เหมือนใครของ อุดม แต้พานิช

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

โนราห์





ประวัติมโนราห์



เป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณ ประมาณอายุตามที่หลาย ๆ ท่านสันนิษฐานไว้ ตกสมัยศรีวิชัยหรือไม่ก็ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างน้อย ด้วยกาลเวลาผ่านมานานเช่นนี้ ทำให้ประวัติความเป็นมาของโนราห์เล่าผิดเพี้ยนกันจนกลายเป็นตำนานหลายกระแสเล่าโดยขุนอุปถัมภ์นรากร ( โนราห์พุ่มเทวา) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ความว่า พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมือง ๆ หนึ่ง มีชายาชื่อนางศรีมาลา มีธิดาชื่อนวลทองสำลี วันหนึ่งนางนวลทองสำลีสุบินว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู ท่ารำมี 12 ท่า มีดนตรีประโคมได้แก่ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และแตร นางให้ทำเครื่องดนตรี และหัดรำตามที่สุบินเป็นที่ครึกครื้นในปราสาท




กระแสที่ 2 เล่าโดยโนราห์วัด จันทร์เรือง ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ความว่า เมืองปัญจา เจ้าเมืองชื่อ ท้าวแสงอาทิตย์ ชายาชื่อ กฤษณา มีโอรสชื่อ ศรีสุธน มีชายาชื่อกาหนม มีพรานปืนหนึ่งคนชื่อบุญสิทธิ์ พรานออกป่าล่าเนื้อมาส่งส่วยทุก 7 วัน ครั้งหนึ่งหาเนื้อไม่ได้ แต่ได้พบนาง 7 คน มาอาบน้ำที่สระอโนตัด ครั้นกลับมาเฝ้าพระราชาและทูลว่าหาเนื้อไม่ได้ จึงถูกภาคทัณฑ์ว่าถาหาเนื้อไม่ได้อีกครั้งเดียวจะถูกตัดหัว พรานจึงคิดจะไปจับนางทั้ง 7 มาถวายแทนสัก 1 คน ครั้งหนึ่ง ขณะนางทั้ง 7 คนอาบน้ำที่สระอโนตัด พรานบุญลักปีกหางนางโนราห์ แล้วไปขอร้องพญานาคเกลอมาช่วยจับ พญานาคนี้เดิมเคยถูกครุฑเฉี่ยว พรานบุญได้ช่วยชีวิตไว้ ครั้นพรานขอร้องจึงให้การช่วยเหลือ พรานนำนางโนราห์ไปถวายพระศรีสุธน พระศรีสุธนรับไว้เป็นชายา ต่อมาข้าศึกเมืองพระยาจันทร์ยกมาตีปันจา พระศรีสุธนออกศึก แล้วตามไปปราบถึงเมืองพระยาจันทร์ อยู่ข้างหลัง นางกาหนมหาอุบายจะฆ่านางโนราห์ โดยจ้างโหรให้ทำนายว่า พระศรีสุธนมีพระเคราะห์จะไม่ได้กลับเมือง ถ้าไม่ได้ทำพิธีบูชายัญ การบูชายัญนี้ให้เอานางโนราห์เผาไฟ นางโนราห์ จึงอุบายขอปีกหางสวมใส่เพื่อรำไห้แม่ผัวดูก่อนตาย และให้เปิดจาก 7 ตับเพื่อรำถวายเทวดานางรำจนเพลินแล้วบินหนีไปเมืองไกรลาศ พระสุธนตามไปจนได้รับกลับเมือง




กระแสที่ 3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอ้างถึงหลักฐานอันเป็นตำนานที่ได้ไปจากนครศรีธรรมราช ดังปรากฎในหนังสือตำนานละครอิเหนาว่า”ในคำใหว้ครูของโนราห์มีคำกล่าวถึงครูเดิมของโนราห์ที่ชื่อขุนศรัทธาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา มีความผิดต้องราชทัณฑ์ ถูกลอยแพไปเสียจากพระนคร แพลอยไปติดอยู่ที่เกาะสีชัง พวกชาวเรือทะเลมาพบเข้า จึงรับไปส่งขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช ขุนศรัทธาจึงได้เป็นครูฝึกโนราห์ให้มีขึ้นที่เมืองนครเป็นต้นมา”

วันเด็ก




On the second Saturday of January the Thai people celebrate Children's Day by taking their children out to have fun. Many local authorities organise special events and other places of interests usually let children in for half price or even for free on this day.
Children are considered as the most valuable resource of the country. There is a Thai saying that goes, "Children are the future of the nation, if the children are intelligent, the country will be prosperous." To help stimulate children to be aware of their significant role in the country, the National Children's Day was held for the first time on the first monday of October 1955 and continued like this until 1963. Then it was changed to the second Saturday of January.

titi




Titi(Tweety Bird en VO) est un personnage des Looney Tunes. Créé par Bob Clampett et Friz Freleng en 1942, ce petit canari tout jaune et mignon est la proie préférée de Sylvestre le chat dit « Grosminet » (Sylvester en VO).S'il semble fragile et sans défense, il n'en est pas moins très malin : il sait apitoyer ses amis, d'Hector le bouledogue à Mémé (Granny en VO) en jouant les victimes, bien qu'il soit assez malicieux pour se garder tout seul contre le « messant rominet » (« bad old puddy tat »), toujours perdant face à lui.Sa réplique la plus célèbre est « Z'ai cru voir un rominet ». Cette prononciation particulière vient du fait que sa « bouche » étant édentée, il zézaye.Son endroit préféré est sa cage dorée. Plus elle est haute, plus les gags sont percutants.Il a été constaté que certains spectateurs prenaient Titi pour une femelle, en raison de son apparence androgyne.