วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

1 พฤษภาคม วันแรงงาน วันระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน

ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีวันแรงงานมานานแล้ว โดยเรียกว่าวันเมย์เดย์ (May Day) ขณะที่ในสมัยก่อนประเทศในแถบยุโรปจะถือเอาวันเมย์เดย์ว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดีรวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความหมายของวันเมย์เดย์จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน ส่วนในประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานก็มีปัญหามากขึ้น รวมทั้งปัญหาแรงงานก็มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้มีการจัดประชุมขึ้นพร้อมทั้งมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีของให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม จนเป็นที่มาของวันกรรมกรแห่งชาติ และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติด้วย แต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก็มีอายุเพีงแค่ 18 เดือน ก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่ และมีการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกำหนดวันกรรมกรให้เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้นมีการผันแปรจึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปีเพื่อเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แต่ก็มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดให้มีการฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ที่มีการทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่เดิมนั้นการบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่รัฐบาลได้เล็งเห็นว่าควรจะมีการยกระดับหน่วยงานเพื่อให้มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่สำหรับการดูแลผู้ใช้แรงงานอย่างพอเพียง ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 จึงได้มีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นเพื่อให้การบริหารงานมีความก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ และมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพ และความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
4. งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ
ส่วนด้านที่เกี่ยวกับกรรมกรก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายร้อยกลุ่ม และยังได้รวมตัวกันจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน มี 3 สภา ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทยและนี่ก็คือความเป็นมาของวันแรงงาน ที่เป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าไป

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

แสงแดด มีประโยชน์มากมาย เช่น ทำให้โรคเกิดความสว่างไสว ความร้อนจากแสงแดดช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ไล่ความอับชื้นของเครื่องนุ่งห่ม ห้องนอน ทำให้ไม่เหม็นเหงื่อ ผู้คนที่อยู่ในเขตหนาวเช่นยุโรป และอเมริกา มีผิวหนังสีขาวซีดจะนิยมอาบแดด เพื่อต้องการบำรุงสีผิวให้เข้มกว่าเดิม แต่ก็จะดำขึ้นชั่วคราว หรือประมาณอย่างน้อย 1 เดือน แล้วกลับสู่ปกติ คนพวกนี้จึงต้องไปอาบแดดกันบ่อย ๆ ถ้าไม่แพ้แดดก็ไม่เป็นไร ถ้าแพ้แดดก็จะเดือดร้อนรำคาญ เพราะจะมีผื่นแดงและคันเป็นระยะ ๆ

ผิวหนังที่แพ้แสงแดดเกิดได้หลายวิธีดังนี้

1. เกิดเมื่อมีสารบางอย่าง มาสัมผัสกับผิวหนัง เป็นระยะเวลานาน พอสมควร และเมื่อสารดังกล่าวถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ผิวหนังจนมีปริมาณมากพอ และออกไปตากแดด ก็จะก่อให้เกิดอาการผื่นแดงเฉพาะบริเวณนอกร่มผ้า ได้แก่ ใบหน้าพบว่าตรงส่วนนูน เช่น หน้าผาก โหนกแก้ม ส่วนอื่น ๆ ที่อาจจะพบได้อีกเช่นกัน คือ คอ อกส่วนรูปตัววี แขนด้านข้าง ขาส่วนนอกกางเกง หลังเท้า สารที่มาสัมผัสกับผิว แล้วก่อให้เกิดอาการดังกล่าว เป็นสารที่อาจพบได้ในสบู่ หรือเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบ ของสารต่อไปนี้ คือ Bithional, Trichlosalicylanilide ถ้ามีอาการดังกล่าวควรตรวจสอบเครื่องสำอางที่ตนเคยใช้ ให้เปลี่ยนเป็นชนิดอื่น ๆ แทน อาการดังกล่าวก็จะดีขึ้น

2. เกิดเมื่อได้รับประทานยาบางอย่างซึ่งจะออกฤทธิ์ของการแพ้ยา เมื่อเราไปถูกแสงแดดแล้ว ยาดังกล่าวเป็นยาที่ใช้ รักษาโรคทั่ว ๆ ไปคือ ยาเบาหวาน (Diabenese) ยาขับปัสสาวะ (Dichlortride) ยารักษาเชื้อรา (Griseofulvin) และยากลุ่มซัลฟา ยาดังกล่าวเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วภายใน 7 วัน ถ้าผู้ใดมีอาการแพ้ยาและแพ้แดด จะมีผื่นแดงตกสะเก็ด มีน้ำเหลืองไหลในบางราย และมีอาการคันมาก เมื่อหยุดยาอาการดังกล่าวจะหายไป

3. โรคแพ้แดดและแพ้ภูมิตัวเองคือ โรค SLE พบมากในหญิงมากกว่าชาย จะมีอาการมีไข้ ผมบางเพราะร่วงวันละ เล็กน้อย ปวดข้อเข่า ข้อนิ้วมอ ผอมลง น้ำหนักลด มีผื่นแดงชัดเจนบริเวณดั้งจมูก และแก้มทั้งสองข้าง และอาจพบอาการปกติที่อวัยวะอื่น เช่น ไต หัวใจ ปอด ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องในเวลาอันสมควร ดังเช่น คุณพุ่มพวง ดาราลูกทุ่งมีชื่อและขวัญใจของชาวไทย
อาการแพ้แสงแดดในจำนวนทั้ง 3 โรคที่กล่าวข้างบนมิได้เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน จะเกิดเพียงบางคนเท่านั้น โดยเหตุผลของการเกิดไม่ทราบแน่นอน แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีแสงแดดร่วมด้วยเสมอและสามารถทุเลาได้ โดยการรักษาที่ถูกต้อง
ส่วนอาการเป็นพิษเรื้อรังจากการแพ้แสงแดด ที่มักจะเกิดทุกราย คือ จุดด่างขาวเล็ก ๆ ขนาด 1-5 มิลลิเมตรเป็นจุดด่างขาวที่มีลักษณะกลม ไม่มีอาการเจ็บปวด หรือคันแต่อย่างใด พบในคนที่อายุเฉลี่ยประมาณ 45 ปีขึ้นไป จัดเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากแสงแดดในผู้สูงอายุ จุดขาวดังกล่าว จะพบบริเวณที่ ถูกแสงแดดเสมอ เช่น แขน อก ผู้ที่โชคร้ายสักหน่อยอาจเกิด ตั้งแต่อายุได้ 30 ปี โดยเฉพาะพวกที่มีผิวค่อนข้างขาว และมีอาชีพที่ต้องถูกแดดได้บ่อย ๆ วิธีป้องกันคือใส่เสื้อแขนยาวหรือทายากันแดดก่อนออกไปทำงาน ถ้าเราสังเกตว่าครอบครัว ของเรามีญาติผู้ใหญ่ซึ่งมีอาการเช่นนี้
อันตรายอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากแสงแดดยังมีอีก เช่น ถ้าตากแดดจัดจนเกินไปเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการอาบแดดตามสระว่ายน้ำ หรือชายทะเล ซึ่งมีแสงแดดจัดมาก และไม่ใคร่มีร่มกันแดดอาจเกิดผิวหนังแดงแสบและพองภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังตากแดดจัดและนาน โดยเฉพาะแดดใกล้เที่ยงถึงบ่ายโมง 3 โมงเย็น จึงควรหลีกเลี่ยง ส่วนมะเร็งผิวหนังเกิดมากในฝรั่งที่นิยมอาบแดดนาน ๆ เป็นเวลาหลายปี ส่วนคนไทยนั้นกลัวแดดนิยมกางร่มหรือไม่ก็ใส่แขนยาวอยู่แล้ว มะเร็งผิวหนังจากแสงแดดจึงไม่ใคร่เกิด นับว่าโชคดีพอสมควร


Le citron est un agrume. C'est le fruit du citronnier, un arbre de la famille des Rutacées. Le citronnier (Citrus limonum) est un arbuste de 5 à 10 m de haut, à feuilles persistantes vert-foncé, ovales, luisantes sur le dessus. La fleur blanche donne un petit fruit vert sombre allongé qui devient vert de plus en plus pâle pour finir jaune vif au fur et à mesure de la croissance. Le fruit a une écorce lisse jaune éclatant. Sa chair est juteuse et très acide et riche en vitamine C. De l'écorce jaune on extrait une huile essentielle qui contient entre autres substances du limonène ou citral. Les citrons doux sont les fruits d'un cultivar particulier et se consomme comme des oranges : Citrus limon (L.) Burm. f. (Classification de Tanaka




เลมอน (lemon, เล-มอน, ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus limon) เป็นพืชในสกุลส้ม ผลส่วนใหญ่จะใช้สำหรับนำมาทำเป็นน้ำเลมอน ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการใช้ กาก และ เปลือก ในการทำอาหารหรือของหวาน เลมอนมีส่วนประกอบของ กรดซิตริก ประมาณ 5% ซึ่งทำให้เลมอนมีรสชาติที่เปรี้ยว และมีค่า pH ประมาณ 2 ถึง 3 ด้วยความเป็นกรดนี้เลมอนในบางประเทศจะถูกใช้นำเป็นวัตถุในการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ทดแทนสารที่เป็นกรดอื่นที่ราคาสูงกว่า เลมอนที่นำมาทำเป็นน้ำจะเรียกว่า เลมอนเนด หรือน้ำเลมอน เลมอนยังสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของขนมหวานเช่น พายเลมอน และนอกจากนี้เลมอนยังถูกนำมาใช้แต่งกลิ่นในน้ำอัดลม เช่น ในเครื่องดื่มยี่ห้อสไปรท์และเซเว่นอัพ


La neige est une forme de précipitation, constituée de glace cristallisée et agglomérée en flocons pouvant être ramifiés d'une infinité de façons. Puisque les flocons sont composés de petites particules, ils peuvent avoir aussi bien une structure ouverte et donc légère qu'un aspect plus compact voisin de celui de la grêle. La neige se forme généralement par la condensation de la vapeur d'eau dans les hautes couches de l'atmosphère et tombe ensuite plus ou moins vite à terre selon sa structure. Les canons à neige produisent de la neige artificielle, en réalité de minuscules grains proches de la neige fondue. Cette technique est utilisée sur les pistes de ski indoor, mais aussi dans les stations de sports d'hiver pour améliorer l'état de leurs pistes.

Kepler fut l'un des premiers scientifiques à s'intéresser à la formation des flocons. Il rédige en 1611 un traité, L'Etrenne ou la neige sexangulaire. Vers 1930, le japonais Ukichiro Nakaya forme ses propres flocons dans des conditions expérimentales, fixant la température et la saturation en eau. Il s'aperçoit alors que la forme des cristaux dépend de ces deux paramètres. En 1935, Tor Bergeron développe la théorie de croissance des flocons à partir de la cannibalisation des gouttes d'eau surfondues appelée l'Effet Bergeron.



หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0°C (32°F) และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม(snow cannon)ความสมมาตรของส่วนที่ยื่นออกมาของเกล็ดหิมะนั้น จะเป็นสมมาตรแบบหกด้านเสมอ เนื่องมาจากเกล็ดน้ำแข็งปกตินั้นมีโครงสร้างผลึกหกเหลี่ยม(หรือที่รู้จักกันในชื่อ ice Ih) บนระนาบฐาน(basal plane) คำอธิบายถึงความสมมาตรของเกล็ดหิมะนั้นโดยทั่วไป มีอยู่ 2 คำอธิบาย คือ อาจเป็นไปได้ที่จะมีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนที่ยื่นออกของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของแต่ละก้านนั้นส่งผลถึงกัน ตัวอย่างของรูปแบบที่ใช้ในการสื่อสารนั้นอาจเป็น ความตึงผิว หรือ โฟนอน(phonon)คำอธิบายที่สองนี้จะค่อนข้างแพร่หลายกว่า คือ แต่ละก้านของเกล็ดหิมะนั้นจะงอกออกโดยไม่ขึ้นแก่กัน ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมอื่นๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับขนาดของเกล็ดหิมะแล้วเชื่อว่าสภาพแวดล้อมจะมีสภาพที่เหมือนกันในช่วงขนาดสเกลของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของก้านในแต่ละด้านนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหมือนกัน จึงทำให้ลักษณะการงอกออกนั้นเหมือนกัน ในลักษณะเดียวกับที่รูปแบบการเติบโตของวงแหวนอายุในแกนของต้นไม้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันจะมีรูปร่างเหมือนๆกัน ความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่ระดับสเกลใหญ่กว่าเกล็ดหิมะนั้นส่งผลให้รูปของเกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ไม่มีเกล็ดหิมะใดที่มีรูปร่างเหมือนกันนั้นไม่ถูกต้อง เกล็ดหิมะสองเกล็ดนั้นมีโอกาสเหมือนกันได้ เพียงแต่โอกาสนั้นน้อยมาก American Meteorological Societyได้บันทึกการค้นพบเกล็ดหิมะที่มีรูปร่างเหมือนกันโดย แนนซี่ ไนท์(Nancy Knight) ซึ่งทำงานที่National Center for Atmospheric Research ผลึกที่ค้นพบนั้นไม่เชิงเป็นเกล็ดหิมะซะทีเดียวที่เป็นรูป ปริซึมหกเหลี่ยมกลวง (hollow hexagonal prism)
La vue

Quel que soit l’endroit où vous vous trouvez, jetez un coup d’œil au-dessus de votre tête. Sous un arbre, placez-vous le long du tronc et appréciez l’architecture des frondaisons, typique de chaque espèce.En soirée regardez les hirondelles et autres martinets chasser les insectes dans la lumière décroissante. A la campagne, malgré la chaleur, au-dessus de champs en friche, regardez la cisticole des joncs faire du surplace en chantant pour marquer son territoire.
N’hésitez pas à utiliser des outils comme les jumelles ou les longues-vues qui permettent d’apprécier la finesse des animaux qui nous entourent, de capter quelques instants de leur vie, sans les déranger.Si vous avez l’occasion de vous promener dans un marché, observez la diversité des formes, des couleurs et même des produits transformés par l’homme, reflet de la diversité des coutumes françaises.Dans l’eau, que vous soyez vous-même hors ou dans cet élément, vous y verrez, en eau douce par exemple, quantité d’insectes évoluant à la surface ou en profondeur. Vous constaterez alors la diversité des adaptations entre l'araignée d’eau qui marche littéralement sur l’eau ou le dytique qui plonge avec ses « bouteilles » d’oxygène (en effet, avant de plonger, cet insecte place l’extrémité de son abdomen à la surface ce qui lui permet de piéger de l’air sous ses élytres et lui confère une autonomie de plonger).Prenez le temps tout simplement de vous arrêter quelques minutes pour observer cette vie qui grouille autour de vous.

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

Human brain

Human brain
The human brain is the center of the human nervous system and is a highly complex organ. It has the same general structure as the brains of other mammals, but is over five times as large as the "average brain" of a mammal with the same body size.

Most of the expansion comes from the cerebral cortex, a convoluted layer of neural tissue that covers the surface of the forebrain. Especially expanded are the frontal lobes, which are involved in executive functions such as self-control, planning, reasoning, and abstract thought. The portion of the brain devoted to vision is also greatly enlarged in humans

Brain evolution, from the earliest shrewlike mammals through primates to hominids, is marked by a steady increase in encephalization, or the ratio of brain to body size. The human brain has been estimated to contain 50–100 billion (1011) neurons, of which about 10 billion (1010) are cortical pyramidal cells. These cells pass signals to each other via around 100 trillion (1014) synaptic connections.

In spite of the fact that it is protected by the thick bones of the skull, suspended in cerebrospinal fluid, and isolated from the bloodstream by the blood-brain barrier, the delicate nature of the human brain makes it susceptible to many types of damage and disease. The most common forms of physical damage are closed head injuries such as a blow to the head, a stroke, or poisoning by a wide variety of chemicals that can act as neurotoxins. Infection of the brain is rare because of the barriers that protect it, but is very serious when it occurs. More common are genetically based diseases, such as Parkinson's disease, multiple sclerosis, and many others. A number of psychiatric conditions, such as schizophrenia and depression, are widely thought to be caused at least partially by brain dysfunctions, although the nature of the brain anomalies is not very well understood.

บอกกล่าว

ห่างหายจากการอัพบล็อกไปนาน...ไม่ได้ไปไหนนะคะ..แต่เวลาว่าง//คือเวลาพักผ่อนพอดี**ปิดเทอมก็มีประสบการณ์เพิ่มไปอีกอย่าง..อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้ว่า.การที่พ่อแม่เราหาเงินมามันเหนื่อยยากแค่ไหน--ถึงคราวเราบ้าง..ได้ทั้งประสบการณ์+เงิน..
ที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง**นี่แหละ..แสงสว่างน้อยๆ..ที่เริ่มเปล่งประกาย//

แสง..จากคุณค่า..ของความเป็นคน
แรง..ที่เปลี่ยนมาเป็นเงิน
เงิน..ที่สร้างรอยยิ้ม+ความสุข...

ขอบคุณช่วงเวลาดีๆที่ทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆนอกห้องเรียน

ปิดเทอมนี้...มีความสุขที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552




วันกองทัพอากาศ
กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ ผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัย ที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และ กองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ"
ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้ง มีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ" นับแต่นั้นมา บทบาทของกำลังทางอากาศ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ นับตั้งแต่การเข้าร่วมรบ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2460 ซึ่งทำให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ของชาติ เป็นที่ยอมรับ และยกย่อง เป็นอันมาก และทางราชการได้ยกฐานะ กองบินทหารบกขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" ในเวลาต่อมา กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศชาติทางด้านต่างๆ อันเป็นรากฐาน ของกิจการหลายอย่างในปัจจุบัน อาทิ การบินส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์ และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์ อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่นๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารเป็น "กรมอากาศยาน" และเป็น "กรมทหารอากาศ" ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบ จากสีเขียว มาเป็นสีเทา ดังเช่นปัจจุบัน วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 กรมทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" มีนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก กองทัพอากาศ จึงได้ถือเอาวันที่ 9 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันกองทัพอากาศ"
กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้เป็นกำลังสำคัญในการปกป้อง รักษาอธิปไตยของชาติ อาทิ สงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลี และร่วมกับพันธมิตร ในสงครามเวียดนาม จากเครื่องบินใบพัดเพียง 8 เครื่องในอดีต จนมาถึงเครื่องบินไอพ่นที่ทันสมัย ในปัจจุบัน กองทัพอากาศ ขอยืนยัน ที่จะดำรงความมุ่งมั่นในภารกิจ ที่จะพิทักษ์ รักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ ไว้ให้มั่นคงสถาพตลอดไป

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

“ 9 เทคนิค ฝึกสมองไบรท์ “

“ 9 เทคนิค ฝึกสมองไบรท์ “

ปิดเทอมมีเวลาว่างหยิบหนังสือทีพี่เอามาทิ้งไว้บ้านมาอ่าน เห็นว่ามีประโยชน์มากๆเลยพิมพ์มาให้อ่านกันจ้า......

หนังสืออัจฉริยะ..เรียนสนุก โดย วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ดผู้หญิงสมัยนี้ อยากสวย ฉลาด และสุขภาพดี ทุกคนจึงพากันดูแลรูปร่าง ด้วยการออกกำลังกาย เคร่งครัดเรื่องอาหารการกิน แต่ไม่เคยมีใครสนใจว่าจะดูแลสมองอย่างไรให้มีสุขภาพดี ทั้งที่สมองเป็นอวัยวะที่ตัดสินใจทุกเรื่องของชีวิต เราจึงควรเอกเซอร์ไซส์สมองให้ไบรท์ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ต่อไปนี้

1. จิบน้ำบ่อย ๆ
สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ


2. กินไขมันดี
คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น


3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน


4. ใส่ความตั้งใจ
การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน


5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ


6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์


7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง


8. เขียนบันทึก Graceful Journal
ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์


9. ฝึกหายใจลึก ๆ
สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 % การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม